วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

week 5 เรื่องที่นักเรียนสนใจ

แนะนำคณะจิตวิทยา

คณะจิตวิทยาเป็นคณะที่เกี่ยวกับความรู้สึกจิตใจและจิตใต้สำนึกที่ผู้ป่วยเก็บไว้ คณะจิตวิทยาไม่ต้องเรียนแพทย์เพราะไม่ใช่จิตแพทย์
เรามารู้สาขากันเถอะ 
จิตวิทยาการปรึกษา
เป็นการให้คำปรึกษาปัญหาและแก้ไขปัญหาของตนเองเป็นชิงจิตวิทยาแต่ละคนจะแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง คณะนี้เป็นการแนะนำวิธีการแก้ปัญหา
จิตวิทยาสังคม
เป็นการแก้ไขปัญหาในสังคม ความสัมพันธ์ของแต่ละบุคคลว่าเขารู้สึกอย่างไร เป็นการโน้วน้าวจิตใจของสังคมการคล้อยตาม การร่วมมือ การแข่งขัน การแสดงตน การประจบประแจง อิทธิพลทางสังคม 
จิตวิทยาคลินิก
เป็นการช่วยเหลือคนที่มีปัญหาทางจิตใจ ให้จิตใจกลับมาเป็นปกติ เป็นการช่วยแก้ปัญหาทางได้จิตใจแต่ไม่ลึกเท่าจิตแพทย์
จิตวิทยาพัฒนาการ
เป็นการเสริมสร้างพัฒนาการของบุคคลทุกช่วงวัย ตั้งแต่อยู่ในท้อง วัยเด็ก วัยรุ่น จนถึงวัยชรา

 จิตวิทยาชุมชน
เป็นการดูพฤติกรรมของบุคคลในชุมชนกลวิธีต่างๆใน การป้องกันและส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิต ปัจจจัยต่างๆ ที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน

จิตวิทยาอุตสาหกรรม
เป็นการดูพฤติกรรมบุคคล ในการทำงานในองต์การทั้งภาครัฐและเอกชน ปัจจัยทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน การสรรหา การคัดเลือก พัฒนาและบริหารทรัพยากรในองค์กร


คณะนี้มีแค่บางมหาวิทยาลัยน้ะจ้ะถ้าจะเรียนต้องศึกษาข้อมูลให้ดีและตามสอบให้ทันน้ะจ้ะ

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

week4 โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ c#

เรามารู้จักโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ c#กันเถอะค่ะบางคนอาจจะรู้จักหรือไม่รู้จักแต่เข้ามาbloggerนี้เราจะมารู้จักโปรแกรมc#กันนะค่ะ เรามาเริ่มกันเลยดีกว่านะค่ะ
C# คืออะไร
     C# คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ประเภท  object-oriented programming พัฒนาโดย  Microsoft โดยมีจุดมุ่งหมายในการวมความสามารถการคำนวณของ C++ ด้วยการโปรแกรมง่ายกว่าของ Visual Basic โดย C# มีพื้นฐานจาก C++ และเก็บส่วนการทำงานคล้ายกับ Java 
     C# ได้รับการออกแบบให้ทำงานกับ .NET platform ของ Microsoft จุดมุ่งหมายคือ อำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนสารสนเทศและบริการผ่านเว็บ และทำให้ผู้พัฒนาสร้างโปรแกรมประยุกต์ในขนาดกระทัดรัด C# ทำให้โปรแกรมง่ายขึ้นผ่านการใช้ Extensible Markup Language (XML) และ Simple Object Access Protocol (SOAP) ซึ่งยอมให้เข้าถึงอ๊อบเจคของโปรแกรมหรือเมธอด โดยปราศจากความต้องการให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนคำสั่งเพิ่มในแต่ละขั้นตอน เนื่องจากผู้เขียนโปรแกรมสามารถสร้างบนคำสั่งที่มีอยู่ แทนที่การคัดลอกซ้ำ C#  ภาษา C# ถูกพัฒนาขึ้นโดยเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของ .NET Framework เป็นการการนำข้อดีของภาษาต่างๆ (เช่นภาษา Delphi , ภาษา C++) มาปรับปรุงเพื่อให้มีความเป็น OOP (โปรแกรมเชิงวัตถุ) มากขึ้น ขณะเดียวกันก็ลดความซับซ้อนในโครงสร้างของภาษาลง (เรียบง่ายกว่าภาษา C++) และมีสิ่งที่เกินความจำเป็นน้อยลง (เมื่อเทียบกับ Java)
     C# ถูกรับรองจากหน่วยงาน ECMA (หน่วยงานกำหนดมาตรฐานสากลด้านสารสนเทศ) และ ISO และปัจจุบันไมโครซอฟท์ยังพัฒนาภาษานี้อย่างต่อเนื่อง (ปัจจุบันเป็นเวอร์ชัน 3.0)
C# คืออะไร ซีชาร์ป คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งพัฒนามาจากภาษา C++

เปรียบเทียบภาษา C# กับภาษาอื่นๆ
     1.ถ้าพูดถึงความใกล้เคียงกับภาษาอื่นๆ ภาษา C# ใกล้เคียงกับภาษา Java มากที่สุด โดยมีความเหมือนกันถึง 70% ดั้งนั้นนักเขียนโปรแกรมภาษา Java จึงอาจย้ายมาเขียนภาษา C# ได้โดยศึกษาว่ามีสิ่งใดที่แตกต่างกันบ้าง ภาษา C# ยังมีความคล้ายคลึงกับภาษ C++.NET และภาษา VB.NET เป็นอย่างมาก ทำให้นักเขียนโปรแกรมภาษา C# สามารถอ่าน-เขียนโค้ดในภาษากลุ่มนี้ได้เมื่อฝึกฝนเพียงเล็กน้อย 
     2.C# และภาษา Java ทั้งคู่เป็นแบบสืบจากคลาสหลักได้คลาสเดียว ขณะที่ภาษา C++ สามารถสืบจากคลาสหลักได้มากกว่าหนึ่ง (Multiple inheritance) โดยภาษา C# และภาษา Java ใช้ Interface มาทดแทน Multiple inheritance เหมือนกันทั้งคู่
     3.สิ่งที่ภาษา C# และ Java มีร่วมกันคือเรื่อง Garbage Collection แต่ไม่มีใน C++ จึงทำให้ดูเหมือนว่าภาษา Java ต่อยอดมาจากภาษา C++ และ C# ต่อยอดมาจาก Java อีกที ที่เป็นเช่นนั้นเพราะทั้ง Java และ C# มีต้นสายมาจาก C++ ทำให้สองภาษานี้ดูคล้ายกัน แต่ภาษา C# ไม่ใช่ภาษา Java มันมีกลไกที่เป็นเอกลักษณ์หลายอย่าง เช่น พารามิเตอร์แบบ reference และ output การจัดเก็บ object ไว้ใน stack (struct) การทำ Versioning และยังมีสิ่งใหม่ๆ ที่เป็นข้อดี เช่น delegate, properties และ operator overloading ซึ่งจะไม่พบในภาษา Java

จุดเด่นหลักๆ ของภาษา C# มีดังนี้1.Component oriented - เป็นภาษาที่เน้นชิ้นส่วนโดยถูกออกแบบมาเป็นอย่างดีทำให้สามารถนำมาใช้ต่อกันเป็นอะไรก็ได้
2.
สิ่งต่าง ๆ ใน C# เป็นออบเจ็กต์ทั้งหมด
3.
ป็นภาษา ที่ทนทาน (robust) - ทนต่อความผิดพลาด ไม่ทำให้ระบบแฮงก์หรือระบบทำงานช้า เพราะ C# มีข้อดีคือ garbage collection , exception , type-safety และ versioning
4.
ภาษา C# จัดเตรียมกลไกไว้หลายอย่างที่ช่วยให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถนำโค้ดที่เขียนไว้ใน ?โปรเจค? หนึ่งไปใช้กับอีกโปรเจคหนึ่งได้ง่าย นอกจากนั้นภาษา C# ยังสามารถเรียกใช้คลาสหลายพันคลาสใน .NET Framework ได้โดยตรง ทำให้ลดเวลาการพัฒนาซอฟท์แวร์ได้มาก

เครื่องมือสำหรับพัฒนาโปรแกรม

            การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยภาษา C# นั้น จะมีเครื่องมือที่ช่วยคอยอานวยความสะดวกสบายให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้อย่างง่ายดาย รวดเร็ว และ ผู้เขียนโปรแกรมสามารถแก้ไขข้อผิดพลาดในการเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้นอีกด้วย ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวก็คือ โปรแกรม Visual Studio นั่นเอง
            Visual Studio เป็นซอฟต์แวร์ประเภท IDE (Integrated Development Environment) ซึ่งเป็นการนาแนวความคิดการทางานแบบรวมศูนย์มาใช้ คือ การทาให้วงจรการพัฒนาระบบทั้งหมดทางานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และ ง่ายดาย เริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์ ออกแบบจนถึงการนาไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นๆ (รายละเอียดของเครื่องมือสาหรับพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษา C# จะกล่าวอีกครั้งในบทที่ 2)

โครงสร้างโปรแกรมภาษา C#

            โครงสร้างโปรแกรมภาษา C# ขั้นพื้นฐานจะประกอบด้วยส่วนของโปรแกรมหลักแต่จะไม่มีส่วนของโปรแกรมย่อย (subroutine) โดยแสดงดังรูปที่ 1

                

รูปที่ 1 โครงสร้างโปรแกรมภาษา C# ขั้นพื้นฐาน

จากรูปที่ 1 แสดงโครงสร้างโปรแกรมภาษา C# ขั้นพื้นฐาน โดยมีรายละเอียดดังนี้

            1. หมายเลข (1) เป็นการระบุชื่อของ namespace ซึ่งใช้ในการกาหนดขอบเขตให้กับคลาสต่างๆรวมถึงใช้ในการจัดโครงสร้างของโปรแกรมขนาดใหญ่ให้เป็นสัดส่วนอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ซับซ้อนโดยมีผู้เขียนโปรแกรมหลายคน นอกจากนี้ การกาหนด namespace ยังช่วยป้องกันปัญหาการตั้งชื่อคลาสหรือค่าคงที่อื่นๆ ซ้ากันได้
            2. หมายเลข (2) เป็นการระบุชื่อของ class
            3. หมายเลข (3) เป็นการะบุพื้นที่สาหรับคาสั่งต่างๆ ที่ผู้เขียนโปรแกรมต้องการให้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตาม

            นอกจากนี้ ในบางกรณี ผู้เขียนโปรแกรมสามารถที่จะไม่เขียนในส่วนของ namespace ได้ ถ้าโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นมีขนาดเล็ก และ ไม่ซับซ้อนมากนัก ซึ่งการที่ไม่เขียนในส่วนของ namespace จะถือว่า class ที่ถูกสร้างขึ้นมาอยู่ใน namespace กลาง โดยแสดงดังรูปที่ 2


รูปที่ 2 โครงสร้างโปรแกรมภาษา C# ขั้นพื้นฐาน กรณีไม่เขียนในส่วนของ namespace

ตัวอย่าง โครงสร้างโปรแกรมภาษา C# ขั้นพื้นฐาน ซึ่งจะแสดงข้อความ Hello C# ออกทางจอภาพ และจากนั้นรอจนกว่าผู้ใช้งานจะกด Enter แล้วจบการทางาน
กรณีที่ 1 เขียนในส่วนของ namespace โดยแสดงดังรูปที่ 3


รูปที่ 3 ตัวอย่างโครงสร้างโปรแกรมภาษา C# ขั้นพื้นฐาน กรณีเขียนในส่วนของ namespace

กรณีที่ 2 ไม่เขียนในส่วนของ namespace โดยแสดงดังรูปที่ 4



รูปที่ 4 ตัวอย่างโครงสร้างโปรแกรมภาษา C# ขั้นพื้นฐาน กรณีไม่เขียนในส่วนของ namespace





วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2558

week3: social network กับนักเรียนและสังคมไทย




       
      
       
       
         


        Social Network หรือ เครือข่ายสังคม (ชุมชนออนไลน์) เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ ในการสร้างเครือข่ายสังคม สำหรับผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ต เขียนและอธิบายความสนใจ และกิจการที่ได้ทำ และเชื่อมโยงกับความสนใจและกิจกรรมของผู้อื่น ในบริการเครือข่ายสังคมมักจะประกอบไปด้วย การแช็ต ส่งข้อความ ส่งอีเมลล์ วิดีโอ เพลง อัปโหลดรูป บล็อก 
                การทำงานคือ คอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลพวกนี้ไว้ในรูปฐานข้อมูล sql ส่วน video หรือ รูปภาพ อาจเก็บเป็น ไฟล์ก็ได้ บริการเครือข่ายสังคมที่เป็นที่นิยมได้แก่ ไฮไฟฟ์ มายสเปซ เฟซบุ๊ก ออร์กัต มัลติพลาย โดยเว็บเหล่านี้มีผู้ใช้มากมาย เช่น เฟสบุ๊คเป็นเว็บไซต์ที่คนไทยใช้มากที่สุด ในขณะที่ออร์กัตเป็นที่นิยมมากที่สุดในประเทศอินเดีย 
             
          Social Network เป็นเครือข่ายความสัมพันธ์เสมือนที่ตอบสนองกับการสร้างสายสัมพันธ์ โยงใยให้เราได้เจอบุคคลที่คุยกันในเรื่องที่สนใจได้อย่างคอเดียวกัน สามารถเชื่อมโยงเพื่อนของเรา เข้ากับเพื่อนของเขา สามารถสร้างสรรค์สังคมใหม่ๆให้กับทุกคน สามารถเชื่อมโยงการสื่อสารภายในองค์กร และภายนอกองค์กรเข้าด้วยกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่ตอบสนองรูปแบบชีวิตของมนุษย์ยุคปัจจุบัน โดยภาพรวม Social Network เป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารกับองค์กรได้เป็นอย่างดี ผู้บริหารองค์กรขนาดใหญ่จะสามารถสื่อสารกับคนในองค์กรของคุณอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ต้องประสบปัญหาการบิดเบือนข้อความ หรือการสื่อสารที่ตกหล่นอีกต่อไป

                                     
    

SOCIAL MEDIA และผลกระทบของโซเชียลมีเดียต่อสังคมไทย

สำหรับในยุคนี้ เราคงจะหลีกเลี่ยงหรือหนีคำว่า Social Media ไปไม่ได้ เพราะไม่ว่าจะไปที่ไหน ก็จะพบเห็นมันอยู่ตลอดเวลา ซึ่งหลายๆ คนก็อาจจะยังสงสัยว่า “Social Media” มันคืออะไรกันแน่ วันนี้เราจะมารู้จักความหมายของมันกันครับ
     คำว่า Social” หมายถึง สังคม ซึ่งในที่นี้จะหมายถึงสังคมออนไลน์ ซึ่งมีขนาดใหม่มากในปัจจุบัน
     คำว่า Media หมายถึง สื่อ ซึ่งก็คือ เนื้อหา เรื่องราว บทความ วีดีโอ เพลง รูปภาพ เป็นต้น
     ดังนั้น คำว่า Social Media จึงหมายถึง สื่อสังคมออนไลน์ที่มีการตอบสนองทางสังคมได้หลายทิศทาง โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต พูดง่ายๆ ก็คือเว็บไซต์ที่บุคคลบนโลกนี้สามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้นั่นเอง
     พื้นฐานการเกิด Social Media ก็มาจากความต้องการของมนุษย์หรือคนเราที่ต้องการติดต่อสื่อสารหรือมีปฏิสัมพันธ์กัน จากเดิมเรามีเว็บในยุค 1.0 ซึ่งก็คือเว็บที่แสดงเนื้อหาอย่างเดียว บุคคลแต่ละคนไม่สามารถติดต่อหรือโต้ตอบกันได้ แต่เมื่อเทคโนโลยีเว็บพัฒนาเข้าสู่ยุค 2.0 ก็มีการพัฒนาเว็บไซต์ที่เรียกว่า web application ซึ่งก็คือเว็บไซต์มีแอพลิเคชันหรือโปรแกรมต่างๆ ที่มีการโต้ตอบกับผู้ใช้งานมากขึ้น ผู้ใช้งานแต่ละคนสามารถโต้ตอบกันได้ผ่านหน้าเว็บ
Hand holding a Social Media 3d SphereSocial Media คือสื่อยุคใหม่ที่กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกวงการทั้งชีวิตประจำวัน และการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นสื่อที่นิยมใช้สื่อสารการตลาดเพื่อการโปรโมท และทำกิจกรรมการตลาดออนไลน์ในหลาย ๆ รูปแบบ แต่สำหรับการนำ social media มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการภายในธุรกิจยังเป็นสิ่งมีข้ัอจำกัดและอาจจะเป็นสิ่งที่ต้องห้ามอยู่ หลายองค์กรในภาครัฐและเอกชนก็ไม่อนุญาตให้พนักงานใช้ social media ในการทำงาน บางหน่วยงานก็บล็อกเว็บไซต์ประเภท social network ต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้พนักงานเล่นในเวลาทำงาน เช่น facebook, youtube,bit torrent ฯลฯ ด้วยเหตุผลหลัก ๆ ทางด้าน productivity ในการทำงาน , ความปลอดภัย , การแย่งสัญญาณอินเตอร์เน็ต ฯลฯ บางทีมีการแซวกันขำๆ ว่าหน้าที่ของหัวหน้าที่เพิ่มขึ้นมาอย่างหนึ่งก็คือ เข้าไปตรวจดูในเฟซบุคเพื่อที่จะจับผิดลูกน้องว่ามีใครออนไลน์อยู่บ้างในเวลาทำงาน
แต่บางองค์กรก็ให้ความสำคัญกับการใช้ social media เป็นอย่างมาก มีการสนับสนุนให้จัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงเรื่อง social media ขององค์กรเลยทีเดียว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการลูกค้า และการบริหารความสัมพันธ์ของลูกค้า ส่วนการนำ social media มาประยุกต์ใช้ในการทำงานภายในอย่างเป็นกิจลักษณะนั้น ก็เห็นจะมีแต่องค์กรชั้นนำเท่านั้นที่มีการออกนโยบายที่เกี่ยวข้องและมีระบบการควบคุมดูแลเป็นอย่างดี เพื่อให้พนักงานสามารถใช้ social network ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่บางองค์กรก็พยายามจะหาวิธีการนำ social media มาใช้ให้เกิดประโยชน์ แต่ก็ยังไม่มีไอเดียว่าจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับการทำงานอย่างเป็นรูปธรรมได้อย่างไร
ตัวอย่างการใช้ social media 
1. Facebook เป็นโซเชียลยอดนิยมอันดับหนึ่งที่มีผู้ใช้มากที่สุด ไอเดียสำหรับการใช้เฟซบุคในการทำงานก็คือ การสร้างกลุ่มสังคมเครือข่ายในที่ทำงาน เพื่อการทำงานร่วมกันเป็นทีม แลกเปลี่ยนไอเดียความคิดเห็นในเรื่องงาน การสอบถามปัญหาในงานกับเพื่อนร่วมงานหรือผู้รู้ การนำเสนอผลงานที่ต้องการฟีดแบค เป็นต้น
2. Twitter เหมาะสำหรับการรายงานสถานะความเคลื่อนไหวในการทำงาน การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เรื่องที่ต้องการจะประกาศให้ทราบ แจ้งข่าวสารกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ เพื่ออัพเดทความเป็นไปให้ทราบเป็นระยะ ๆ เช่น เถ้าแก่จะตื่นมาด้วยความสบายใจเมื่อเห็นข้อความสั้น ๆ เหมือนพาดหัวข่าวใน timeline ตอนเช้าว่า งานที่มอบหมายให้ลูกจ้างกลับไปทำต่อที่บ้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว ยามกะดึกที่เฝ้าโกดังรายงานความสงบเรียบร้อยทุก ๆ 20 นาีที คนขับรถส่งสินค้าไปถึงท่าเรือได้ทันเวลา เป็นต้น
3. Wiki ใช้สำหรับจัดการความรู้ขององค์กร หรือทำ KM นั่นเอง โดยเปิดพื้นที่ให้พนักงานเ้ข้าไปเขียนบันทึกจัดเก็บไว้เป็นคลังความรู้ขององค์กร ให้คนทำงานได้สืบค้นและเรียนรู้ตามได้ ใช้เป็นคู่มือในการทำงานก็ได้ ใช้เป็นแหล่งอ้างอิงในการแก้ไขปัญหา หรือตอบคำถามที่พบบ่อยก็ได้ พนักงานบางคนจะไม่มีวันถูกไล่ออกจากงาน เพราะเขาเป็นคนเขียน wiki ของที่ทำงาน เหมือนเป็นคัมภีร์ประจำออฟฟิศนั่นหมายความว่าความมั่นคงในงานของพนักงานก็สูงขึ้นด้วย
4. Youtube การถ่ายทอดผ่านวิดีโอ เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความเข้าใจได้ดีมากขึ้นกว่าการอ่านผ่านตัวหนังสือ ดังนั้น ไอเดียในการนำยูทูปมาใช้ในการฝึกอบรมหรือการสาธิตวิธีการทำงานจึงเป็นประโยชน์อย่างมาก ในการพัฒนาความรู้ทักษะของพนักงาน นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการสัมภาษณ์พนักงานได้อีกด้วย เช่น เมื่อมีผู้สมัครงานที่น่าสนใจจะรับเข้าทำงาน ก็ให้ผู้สมัครแนะนำตัวและตอบคำถามตามหัวข้อที่แจ้งไว้ อัดวิดีโอส่งผ่านยูทูปมา ก็จะลดต้นทุนได้ทั้งสองฝ่าย ทั้งผู้สัมภาษณ์ และผู้ถูกสัมภาษณ์ เป็นต้น
5. Foursquare ใช้ในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ เหมาะสำหรับองค์กรที่มีสาขาหลายแห่ง และมีการตรวจเยี่ยมพื้นที่ เช่น เซลส์ที่ต้องไปพบลูกค้าต่างจังหวัด ก็เช็คอินเวลาไปถึงสถานที่นัดหมาย ทำให้ผู้จัดการหรือหัวหน้าทีมขายติดตามการเข้าพบลูกค้าตามแผนออกทริปได้ หรือ การตรวจประเมินโดยออดิเตอร์ที่ต้องไปออดิทพนักงานประจำสาขา หรือตามห้างร้านต่าง ๆ ก็สามารถบันทึกข้อมูลการตรวจเยี่ยมในพื้นที่ต่าง  ๆ ไว้ให้สำนักงานใหญ่ควบคุมดูแลหรือมอนิเตอร์ดูได้  เป็นต้น
6. Instagram เน้นการโพสต์รูปภาพ แชร์รูปภาพเป็นหลัก เอามาประยุกต์ใช้ในการรายงานด้วยภาพ เช่น ภาพกิจกรรมต่าง ๆ การสัมมนา การประกวด การมอบของรางวัล การทำงานที่เสี่ยงอันตราย ชิ้่นงานที่ได้คุณภาพ ตัวอย่างของเสีย กิจกรรมนอกสถานที่ การแข่งกีฬา การดูงาน การทำ 5ส. สภาพแวดล้อมในสถานประกอบการ ฯลฯ หรือนำมาใช้เป็นภาพประกอบในการแจ้งเรื่องร้องเรียน หรือข้อเสนอแนะไคเซ็น เป็นต้น
7. Blog เอาไว้ใช้เขียนบทความ หรือข้อความที่มีเนื้อหารายละเอียดมากหน่อย ซึ่งเฟซบุค หรือทวิตเตอร์มีข้อจำกัด สามารถเขียนรีวิว เขียนรายงาน เขียนบันทึกการทำงาน ข้อค้นพบ การแก้ไขปัญหาในงาน ซึ่งสามารถใส่ภาพประกอบได้ เป็นการบันทึกข้อมูลที่เป็นหลักฐานอ้างอิงที่ดีไว้สำหรับประเมินผลการปฏิบัติงาน เช่น หัวหน้าที่ได้อ่านไดอารี่การทำงานของพนักงานก็จะสามารถตรวจสอบการทำงานย้อนหลัง และประเมินผลงาน หรือดูพัฒนาการของลูกน้องได้
8.  Webboard เอาไว้ตั้งกระทู้ สอบถามปัญหาในงาน หรือเรื่องต่าง ๆ ที่พนักงานสนใจ เช่น สวัสดิการพนักงาน นโยบาย กฎระเบียบข้อบังคับ ฯลฯ หรือเอาไว้ใช้ประกาศตำแหน่งงานว่างในองค์กร หรือตั้งกระทู้สำหรับระดมสมอง ประชันไอเดีย รับฟังข้อเสนอแนะ เป็นต้น
9. Google Docs นำมาใช้ในการจัดการไฟล์เอกสารร่วมกัน จะได้ไม่ยุ่งยากในการเซฟข้อมูลเป็นหลายไฟล์ สามารถแก้ไขเอกสารร่วมกันได้ แล้วเซฟเป็นไฟล์ที่อัพเดทล่าสุดเป็นไฟล์เดียว ทีมงานสามารถอัพโหลด ดาวโหลด ไฟล์งานไว้ในโฟลเดอร์กลางที่ทุกคนต้องใช้งานร่วมกัน นอกจากนี้ ยังสามารถนำมาใช้ทำแบบสอบถามออนไลน์ได้อีกด้วย ลดภาระการถ่ายเิอกสารแจกจ่ายไปยังทุกแผนก ซึ่งสิ้นเปลืองกระดาษแถมยังไม่ได้รับการตอบกลับอีกต่างหาก
10. Drop Box มีประโยชน์คือ เป็นฮาร์ดดิสก์สำรองออนไลน์ ไว้เก็บข้อมูลเผื่อฉุกเฉิน บางทีไปทำงานแต่ดันลืมหน่วยความจำสำรองไว้ที่บ้าน ก็สามารถดาวโหลดไฟล์ที่เก็บไว้ในดร็อปบ็อกซ์มาใช้งานได้อย่างทันท่วงที เป็นที่ฝากไฟล์ซึ่งสามารถแชร์กล่องเก็บข้อมูลให้ผู้อื่นใช้ร่วมกันได้ง่าย
11. Skype เอาไว้ใช้งานเวลามีประชุมทางไกล ออนไลน์แบบเห็นหน้ากันเรียลไทม์ ต้นทุนต่ำแต่ระดับปฏิสัมพันธ์สูง นอกจากนี้ยังประยุกต์ใช้ในการนัดหมายสัมภาษณ์งานทางไกลได้ด้วย ทั้งผู้สัมภาษณ์และผู้ถูกสัมภาษณ์ต้องมีอุปกรณ์และเวลาที่ตรงกัน จำลองสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมให้เหมือนเจอตัวจริงกันเป็นๆ

วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2558

week2:เรื่องที่นักเรียนสนใจ

แนะนำคณะเภสัชศาสตร์

คณะเภสัชกรเป็นคณะที่เกี่ยวกับยาการผลิตยาและการใช้ยาของผู้ป่วยเรามารู้จักคณะเภสัชกันดีกว่าค่ะ

คณะเภสัชศาสตร์ต้องเรียนทั้งหมด 6 ปีมีหลายสาขาให้เลือกเรียนมากมายเป็นคณะที่เกี่ยวกับยาการผลิตและจำหน่ายยา
เรามารู้จักสาขาที่แยกออกมาจากคณะเภสัชศาสตร์กันเถอะ
1 สาขาบริบาลเภสัชกรรม ทำงานในโรงพยาบาลหรือร้านขายยาจ่ายยามาหมอสั่งหรือดูตามอาการของผู้ป่วย เราต้องรู้เรื่องยาเยอะๆจะได้ช่วยเหลือคนอื่นได้ สาขานี้ก็ต้องเรียน 6 ปีเหมือนกัน

2สาขาเภสัชศาสตร์ เป็นเภสัชที่ทำงานในห้องแล็ป ผลิตและคิดค้นตัวยาและตรวจสอบยา(ต้องเก่งเคมีน้ะจ้ะ)

เรามารู้กันว่า 6 ปีที่ต้องเรียนมีไรบ้าง
ปี1-2 เรียนเกี่ยวกับวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป(ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา) ต้องจบจากสายวิทย์-คณิตมานะค่ะถึงจะเรียนได้ ควารู้ประกอบวิชาชีพทั่วไป
ปี3-4 เรียนวิชาเฉพาะทางเภสัช มีทั้งทฤษฎีปฏิบัติการและการฝึกงานในโรงพยาบาล และศึกษาวิชาการแพทย์พื้นฐานด้วย
ปี5-6 เป็นการเลือกสาขาที่จะเรียน และฝึกงาน
เรียนจบแล้วจ้าาาาา
แต่ยังต้องไปสอบในประกอบวิชาชีพเพื่อไปยืนยันว่าเรามีความรู้พอที่จะจ่ายยาให้คนไข้หรือเปล่าถ้าได้ใบประกอบวิชาชีพเราก็ได้ทำงานที่เรารักตลอดไป
มีหลายมหาวิทยาลัยที่เปิดคณะเภสัชศาสตร์เช่น
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (2520- 2524) ตามโครงการพัฒนา สาธารณสุขของประเทศ คณะฯได้ก่อตั้งโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษหน้าที่ 1 เล่ม 97 ตอนที่ 197 ลงวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2523 นับเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ผลิตบัณฑิตสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ แห่งที่ 5 ของประเทศ ถัดจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะเภสัชศาสตร์แห่งแรกในประเทศไทย โดยถือกำเนิดจาก "โรงเรียนแพทย์ปรุงยา ตามดำริของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาชัยนาทนเรนทร เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2456 ซึ่งถือเป็นวันสถาปนาคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นวันสถาปนาวิชาชีพเภสัชกรรมในประเทศไทยอีกด้วย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดิมเป็นแผนกปรุงยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาได้รับการพัฒนาหลักสูตรขึ้นเป็นแผนกอิสระเภสัชกรรมศาสตร์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้ย้ายสังกัดหลายครั้ง ซึ่งภายหลังได้กลับมาสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้อาคารเภสัชศาสตร์ ในบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปัจจุบันคือคณะศิลปกรรมศาสตร์) เป็นที่ทำการเรียนการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2525 ได้ย้ายอาคารมาทำการเรียนการสอน ณ ที่ตั้งปัจจุบัน บริเวณสยามสแควร์ ติดกับคณะทันตแพทยศาสตร์และคณะสัตวแพทยศาสตร์
ปัจจุบัน คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี,ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยในระดับปริญญาตรีได้เปิดการเรียนการสอนใน 2 หลักสูตรคือ หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม และหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ ทั้ง 2 หลักสูตรใช้ระยะเวลาในการศึกษาทั้งสิ้น 6 ปี โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 7 ภาควิชา และยังมีโครงการแลกเปลี่ยนนิสิตกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ อาทิ โครงการแลกเปลี่ยนนิสิตคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ-ชิบะ, โครงการแลกเปลี่ยนคณาจารย์ นักวิจัย และนิสิต คณะเภสัชศาสตร์กับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาสหราชอาณาจักรญี่ปุ่น และเกาหลี เป็นต้นสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา
สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา เปิดการเรียนการสอนเมื่อปี พ.ศ. 2546 ในฐานะ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา และได้แยกตัวมาเป็น สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยาในปี พ.ศ. 2548
ต่อมาในวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2550 ทางคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยได้ทำการเปลี่ยนชื่อเป็นสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา ตั้งแต่ ปีการศึกษา 2550 เป็นต้นไป สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยามีจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ ปี 1 - ปี 6 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา ทั้งหมด
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นคณะเภสัชศาสตร์แห่งที่สองของประเทศไทย และเป็นคณะเภสัชศาสตร์แห่งแรกของภาคเหนือ จัดตั้งขึ้นในราวปี พ.ศ. 2509 ในฐานะโรงเรียนเภสัชศาสตร์ สังกัดสำนักงานคณบดีคณะแพทยศาสตร์
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ตั้งอยู่ในบริเวณมหาวิทยาลัยนเรศวร บ้านทุ่งหนองอ้อ ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก เป็นคณะเภสัชศาสตร์ของรัฐคณะที่ 7 จัดตั้งขึ้นเพื่อผลิตเภสัชกร ให้เพียงพอกับความต้องการของประเทศ และเพื่อกระจายเภสัชกรสู่ภาคเหนือตอนล่าง อันเป็นการเพิ่มบุคลากรด้านสาธารณสุขให้แก่ภูมิภาคนี้ ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการให้ความรู้เกี่ยวกับยาแก่บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วย และประชาชนทั่วไป
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อตั้งเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 โดยสภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีมติให้จัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพขึ้น เป็นหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย นับเป็นคณะเภสัชศาสตร์ ลำดับที่ 12 ของประเทศไทย และเป็นลำดับที่ 3 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีศาสตราจารย์อาร์เอ็มอี ริชาร์ด(Prof. RME Richards, OBE) ดำรงตำแหน่งรักษาการคณบดีเป็นคนแรก
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ก่อตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2511 
เมื่อ พ.ศ. 2485 ได้มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ขึ้น โดยทางมหาวิทยาลัยได้รับโอนแผนกเภสัชศาสตร์ จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาตั้งเป็น "คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์" ต่อมา เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2511 ได้มีการจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์แห่งขึ้นใหม่ในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ โดยใช้ชื่อว่า "คณะเภสัชศาสตร์ พญาไท มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์" ดังนั้น ในช่วงเวลานี้ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตรืจึงประกอบด้วยคณะเภสัชศาสตร์ 2 แห่งด้วยกัน
ต่อมา เมื่อ พ.ศ. 2512 มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "มหาวิทยาลัยมหิดล" รวมทั้ง ได้มีการโอนคณะเภสัชศาสตร์ที่ตั้งอยู่ในบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเข้า สังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกครั้ง ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 ดังนั้น มหาวิทยาลัยมหิดลจึงตัดสร้อยท้ายคำว่า "พญาไท" ออกจาก "คณะเภสัชศาสตร์ พญาไท" เป็น "คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล" ดังเช่นปัจจุบัน
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัยให้เปิดดำเนินการสอนหลักสูตรเภสัชศาสตร์ บัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ได้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2530 นับเป็นคณะเภสัชศาสตร์สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งแรกของประเทศไทย นอกเหนือจากคณะเภสัชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยของรัฐ 6 สถาบันในขณะนั้น โดยมี ศ.(พิเศษ)ภญ.ฉวี บุนนาค เป็นคณบดีคนแรกของคณะ (พ.ศ. 2530-2541) คณบดีท่านต่อมาคือ ศ.ภญ.ดร.สสี ปันยารชุน (พ.ศ. 2541-2545) และรศ.ภญ.ดร.อรพรรณ มาตังคสมบัติ (พ.ศ. 2545-ปัจจุบัน)
โดยนักศึกษาจะศึกษาเพื่อการเป็นเภสัชกรในช่วง 4 ปีแรกของหลักสูตร และศึกษากระบวนวิชาทางเลือก ให้มีความรู้และทักษะเฉพาะทาง ตลอดจนฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพในทางเลือกในชั้นปีที่ 5 ต่อมาได้มีการปรับปรุงหลักสูตรอีก 3 ครั้ง คือ หลักสูตรเภสัชศาสตร์ปีการศึกษา 2542 ประกอบด้วย 232 หน่วยกิต (ไตรภาค) หลักสูตรเภสัชศาสตร์ ปีการศึกษา 2544 ประกอบด้วย 186 หน่วยกิต (ทวิภาค) และหลักสูตรเภสัชศาสตร์ ปีการศึกษา 2546 ในปีการศึกษา 2545 คณะเภสัชศาสตร์ได้รับอนุมัติให้เปิดหลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเภสัชศาสตร์ขึ้นอีก 1 หลักสูตร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ผลิตเภสัชกรรุ่นแรกออกไปในปี 2535 จำนวน 41 คน จนถึงปัจจุบันได้ผลิตเภสัชกรไปแล้วรวม 18 รุ่น
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นสถาบันการศึกษาเภสัชศาสตร์ลำดับที่ 9 และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ จังหวัดนครนายก ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 เป็นคณะเภสัชศาสตร์ลำดับที่ 6 ของประเทศไทย พัฒนาขึ้นจากโครงการวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาเภสัชศาสตร์ โดยมีฐานะเป็นภาควิชาหนึ่งของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร อันเป็นโครงการเพิ่มจำนวนเภสัชกรในพื้นที่ภาคตะวันตกที่ยังขาดแคลน ต่อมาทางมหาวิทยาลัยได้มีบันทึกการพัฒนาสาขาเภสัชศาสตร์ จัดตั้งขึ้นในฐานะคณะ จนกระทั่งวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2526 ทางมหาวิทยาลัยจึงแต่งตั้งคณะกรรมการจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ขึ้น จนกระทั่งเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 เภสัชกรรศ.ภก.ดร.ประโชติ เปล่งวิทยา ได้รับอนุมัติให้โอนราชการจาก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาสังกัดคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และได้รับการแต่งตั้งดำรงตำแหน่งคณบดีในวันเดียวกัน
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์



คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 110/5 หมู่ 3 ถนน กาญจนวนิช ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา นับเป็นสถาบันการศึกษาขั้นสูงในสาขาเภสัชศาสตร์ ที่ดำเนินการเปิดสอนในระดับปริญญาตรีขึ้นไป เป็นแห่งแรกในภาคใต้ โดยเริ่มจัดตั้งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตามการอนุมัติของรัฐบาลใน พ.ศ. 2515 คณะเภสัชศาสตร์ได้รับการจัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2521 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา และสภามหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งให้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภญ.ดร. สุนาลินี นิโครธานนท์ เป็นคณบดีคนแรก เริ่มเปิดรับนักศึกษารุ่นแรกตามหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต เมื่อปีการศึกษา 2522 จำนวน 19 คน โดยนักศึกษาในรุ่นแรกนี้ เป็นนักศึกษาที่รับจากการสอบตรงทั้งหมด นับถึงปีการศึกษา 2551 คณะฯ ได้รับนักศึกษามาแล้ว 30 รุ่น และได้ผลิตเภสัชกรออกไปทำงานรับใช้สังคมประมาณ 3,000 คน
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม เป็นคณะเภสัชศาสตร์คณะที่ 13 ของประเทศไทย เป็นคณะเภสัชศาสตร์แห่งที่ 3 ของมหาวิทยาลัยเอกชน แต่เป็นคณะเภสัชศาสตร์แห่งแรกของมหาวิทยาลัยเอกชนที่เป็นหลักสูตร 6 ปี จัดตั้งขึ้นเพื่อสร้างเภสัชกร ที่มีทักษะการปฏิบัติงานด้านบริบาลทางเภสัชกรรม ได้รับการจัดตั้งเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2536 ดำเนินการสอนหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิตเพื่อผลิตบัณฑิตทางเภสัชศาสตร์ให้มี คุณภาพตามมาตรฐานสากล เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศที่ ยังขาดเภสัชกร บัณฑิตคณะเภสัชศาสตร์จะเป็นผู้ที่มีความใฝ่รู้ และใฝ่ศึกษาด้วยตนเอง สามารถแก้ปัญหา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการพัฒนาวิชาการด้านเภสัชศาสตร์เป็นผู้ที่มี ความรอบรู้เรื่องยาในทุกด้าน ได้แก่ การผลิตยา การจ่ายยา ติดตามและแนะนำการใช้ยาการบริหารและการจ่ายยา เป็นต้น สามารถให้บริการแก่สังคมในสายวิชาชีพเภสัชกรรม และการสาธารณาสุขให้มีประสิทธิผลทางด้านสุขภาพและอนามัยต่อชุมชนทั้งในเมือง และชนบท โดยยึดมั่นในจรรยาแห่งวิชาชีพ มีมนุษย์สัมพันธ์ และเจตคติที่ดีต่อสังคม
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี


คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นคณะเภสัชศาสตร์ของรัฐ ลำดับที่ 8 และเป็นคณะวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Health Sciences) คณะแรกของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2537 โดยมีวัตถุประสงค์ในการผลิตเภสัชกรเพื่อ ตอบสนองความต้องการของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะเภสัชศาสตร์ได้ปฏิบัติภารกิจสำคัญในการจัดการศึกษาและดำเนินงานวิจัยด้าน เภสัชศาสตร์มานานกว่าทศวรรษ โดยในช่วงปีแรกๆของการสถาปนา คณะเภสัชศาสตร์ รับนักศึกษาปีละประมาณ 40 คน ปัจจุบันจำนวนนักศึกษาเพิ่มเป็น 130 คนต่อปี ในปีการศึกษา 2548 มีจำนวนนักศึกษาทั้งสิ้น 504 คน และมีบัณฑิตสำเร็จการศึกษาไปแล้วรวมทั้งสิ้น 3 12 คน บัณฑิตเภสัชศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาจะต้อง สอบความรู้เพื่อขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม จากสภาเภสัชกรรม จึงจะสามารถประกอบวิชาชีพได้โดยสมบูรณ์
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้เปิดทำการสอนใน หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต เป็นปีแรกในปีการศึกษา 2550 โดยมุ่งผลิตเภสัชกรที่มีคุณธรรม มีความสามารถ และมีทักษะตามมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรมของประเทศ และของสากล โดยเน้นองค์ความรู้เรื่องยา ที่สามารถประยุกต์ในการส่งเสริม ป้องกัน และรักษาสุขภาพของชุมชนและประชาชน
ปัญหาการใช้ยาเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งในระดับชุมชน ระดับประเทศ และระดับโลก ที่จะต้องอาศัยผู้รู้ ผู้มีความสามารถ มีทักษะในการทำงานเป็นทีมร่วมกับวิชาชีพสุขภาพอื่นๆ เพื่อให้ประชาชนทุกระดับได้ใช้ยาอย่างเหมาะสมและพอเพียง



ขอขอบคุณhttp://www.dek-d.com/board/view/1557997/