วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2558

week3: social network กับนักเรียนและสังคมไทย




       
      
       
       
         


        Social Network หรือ เครือข่ายสังคม (ชุมชนออนไลน์) เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ ในการสร้างเครือข่ายสังคม สำหรับผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ต เขียนและอธิบายความสนใจ และกิจการที่ได้ทำ และเชื่อมโยงกับความสนใจและกิจกรรมของผู้อื่น ในบริการเครือข่ายสังคมมักจะประกอบไปด้วย การแช็ต ส่งข้อความ ส่งอีเมลล์ วิดีโอ เพลง อัปโหลดรูป บล็อก 
                การทำงานคือ คอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลพวกนี้ไว้ในรูปฐานข้อมูล sql ส่วน video หรือ รูปภาพ อาจเก็บเป็น ไฟล์ก็ได้ บริการเครือข่ายสังคมที่เป็นที่นิยมได้แก่ ไฮไฟฟ์ มายสเปซ เฟซบุ๊ก ออร์กัต มัลติพลาย โดยเว็บเหล่านี้มีผู้ใช้มากมาย เช่น เฟสบุ๊คเป็นเว็บไซต์ที่คนไทยใช้มากที่สุด ในขณะที่ออร์กัตเป็นที่นิยมมากที่สุดในประเทศอินเดีย 
             
          Social Network เป็นเครือข่ายความสัมพันธ์เสมือนที่ตอบสนองกับการสร้างสายสัมพันธ์ โยงใยให้เราได้เจอบุคคลที่คุยกันในเรื่องที่สนใจได้อย่างคอเดียวกัน สามารถเชื่อมโยงเพื่อนของเรา เข้ากับเพื่อนของเขา สามารถสร้างสรรค์สังคมใหม่ๆให้กับทุกคน สามารถเชื่อมโยงการสื่อสารภายในองค์กร และภายนอกองค์กรเข้าด้วยกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่ตอบสนองรูปแบบชีวิตของมนุษย์ยุคปัจจุบัน โดยภาพรวม Social Network เป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารกับองค์กรได้เป็นอย่างดี ผู้บริหารองค์กรขนาดใหญ่จะสามารถสื่อสารกับคนในองค์กรของคุณอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ต้องประสบปัญหาการบิดเบือนข้อความ หรือการสื่อสารที่ตกหล่นอีกต่อไป

                                     
    

SOCIAL MEDIA และผลกระทบของโซเชียลมีเดียต่อสังคมไทย

สำหรับในยุคนี้ เราคงจะหลีกเลี่ยงหรือหนีคำว่า Social Media ไปไม่ได้ เพราะไม่ว่าจะไปที่ไหน ก็จะพบเห็นมันอยู่ตลอดเวลา ซึ่งหลายๆ คนก็อาจจะยังสงสัยว่า “Social Media” มันคืออะไรกันแน่ วันนี้เราจะมารู้จักความหมายของมันกันครับ
     คำว่า Social” หมายถึง สังคม ซึ่งในที่นี้จะหมายถึงสังคมออนไลน์ ซึ่งมีขนาดใหม่มากในปัจจุบัน
     คำว่า Media หมายถึง สื่อ ซึ่งก็คือ เนื้อหา เรื่องราว บทความ วีดีโอ เพลง รูปภาพ เป็นต้น
     ดังนั้น คำว่า Social Media จึงหมายถึง สื่อสังคมออนไลน์ที่มีการตอบสนองทางสังคมได้หลายทิศทาง โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต พูดง่ายๆ ก็คือเว็บไซต์ที่บุคคลบนโลกนี้สามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้นั่นเอง
     พื้นฐานการเกิด Social Media ก็มาจากความต้องการของมนุษย์หรือคนเราที่ต้องการติดต่อสื่อสารหรือมีปฏิสัมพันธ์กัน จากเดิมเรามีเว็บในยุค 1.0 ซึ่งก็คือเว็บที่แสดงเนื้อหาอย่างเดียว บุคคลแต่ละคนไม่สามารถติดต่อหรือโต้ตอบกันได้ แต่เมื่อเทคโนโลยีเว็บพัฒนาเข้าสู่ยุค 2.0 ก็มีการพัฒนาเว็บไซต์ที่เรียกว่า web application ซึ่งก็คือเว็บไซต์มีแอพลิเคชันหรือโปรแกรมต่างๆ ที่มีการโต้ตอบกับผู้ใช้งานมากขึ้น ผู้ใช้งานแต่ละคนสามารถโต้ตอบกันได้ผ่านหน้าเว็บ
Hand holding a Social Media 3d SphereSocial Media คือสื่อยุคใหม่ที่กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกวงการทั้งชีวิตประจำวัน และการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นสื่อที่นิยมใช้สื่อสารการตลาดเพื่อการโปรโมท และทำกิจกรรมการตลาดออนไลน์ในหลาย ๆ รูปแบบ แต่สำหรับการนำ social media มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการภายในธุรกิจยังเป็นสิ่งมีข้ัอจำกัดและอาจจะเป็นสิ่งที่ต้องห้ามอยู่ หลายองค์กรในภาครัฐและเอกชนก็ไม่อนุญาตให้พนักงานใช้ social media ในการทำงาน บางหน่วยงานก็บล็อกเว็บไซต์ประเภท social network ต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้พนักงานเล่นในเวลาทำงาน เช่น facebook, youtube,bit torrent ฯลฯ ด้วยเหตุผลหลัก ๆ ทางด้าน productivity ในการทำงาน , ความปลอดภัย , การแย่งสัญญาณอินเตอร์เน็ต ฯลฯ บางทีมีการแซวกันขำๆ ว่าหน้าที่ของหัวหน้าที่เพิ่มขึ้นมาอย่างหนึ่งก็คือ เข้าไปตรวจดูในเฟซบุคเพื่อที่จะจับผิดลูกน้องว่ามีใครออนไลน์อยู่บ้างในเวลาทำงาน
แต่บางองค์กรก็ให้ความสำคัญกับการใช้ social media เป็นอย่างมาก มีการสนับสนุนให้จัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงเรื่อง social media ขององค์กรเลยทีเดียว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการลูกค้า และการบริหารความสัมพันธ์ของลูกค้า ส่วนการนำ social media มาประยุกต์ใช้ในการทำงานภายในอย่างเป็นกิจลักษณะนั้น ก็เห็นจะมีแต่องค์กรชั้นนำเท่านั้นที่มีการออกนโยบายที่เกี่ยวข้องและมีระบบการควบคุมดูแลเป็นอย่างดี เพื่อให้พนักงานสามารถใช้ social network ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่บางองค์กรก็พยายามจะหาวิธีการนำ social media มาใช้ให้เกิดประโยชน์ แต่ก็ยังไม่มีไอเดียว่าจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับการทำงานอย่างเป็นรูปธรรมได้อย่างไร
ตัวอย่างการใช้ social media 
1. Facebook เป็นโซเชียลยอดนิยมอันดับหนึ่งที่มีผู้ใช้มากที่สุด ไอเดียสำหรับการใช้เฟซบุคในการทำงานก็คือ การสร้างกลุ่มสังคมเครือข่ายในที่ทำงาน เพื่อการทำงานร่วมกันเป็นทีม แลกเปลี่ยนไอเดียความคิดเห็นในเรื่องงาน การสอบถามปัญหาในงานกับเพื่อนร่วมงานหรือผู้รู้ การนำเสนอผลงานที่ต้องการฟีดแบค เป็นต้น
2. Twitter เหมาะสำหรับการรายงานสถานะความเคลื่อนไหวในการทำงาน การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เรื่องที่ต้องการจะประกาศให้ทราบ แจ้งข่าวสารกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ เพื่ออัพเดทความเป็นไปให้ทราบเป็นระยะ ๆ เช่น เถ้าแก่จะตื่นมาด้วยความสบายใจเมื่อเห็นข้อความสั้น ๆ เหมือนพาดหัวข่าวใน timeline ตอนเช้าว่า งานที่มอบหมายให้ลูกจ้างกลับไปทำต่อที่บ้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว ยามกะดึกที่เฝ้าโกดังรายงานความสงบเรียบร้อยทุก ๆ 20 นาีที คนขับรถส่งสินค้าไปถึงท่าเรือได้ทันเวลา เป็นต้น
3. Wiki ใช้สำหรับจัดการความรู้ขององค์กร หรือทำ KM นั่นเอง โดยเปิดพื้นที่ให้พนักงานเ้ข้าไปเขียนบันทึกจัดเก็บไว้เป็นคลังความรู้ขององค์กร ให้คนทำงานได้สืบค้นและเรียนรู้ตามได้ ใช้เป็นคู่มือในการทำงานก็ได้ ใช้เป็นแหล่งอ้างอิงในการแก้ไขปัญหา หรือตอบคำถามที่พบบ่อยก็ได้ พนักงานบางคนจะไม่มีวันถูกไล่ออกจากงาน เพราะเขาเป็นคนเขียน wiki ของที่ทำงาน เหมือนเป็นคัมภีร์ประจำออฟฟิศนั่นหมายความว่าความมั่นคงในงานของพนักงานก็สูงขึ้นด้วย
4. Youtube การถ่ายทอดผ่านวิดีโอ เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความเข้าใจได้ดีมากขึ้นกว่าการอ่านผ่านตัวหนังสือ ดังนั้น ไอเดียในการนำยูทูปมาใช้ในการฝึกอบรมหรือการสาธิตวิธีการทำงานจึงเป็นประโยชน์อย่างมาก ในการพัฒนาความรู้ทักษะของพนักงาน นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการสัมภาษณ์พนักงานได้อีกด้วย เช่น เมื่อมีผู้สมัครงานที่น่าสนใจจะรับเข้าทำงาน ก็ให้ผู้สมัครแนะนำตัวและตอบคำถามตามหัวข้อที่แจ้งไว้ อัดวิดีโอส่งผ่านยูทูปมา ก็จะลดต้นทุนได้ทั้งสองฝ่าย ทั้งผู้สัมภาษณ์ และผู้ถูกสัมภาษณ์ เป็นต้น
5. Foursquare ใช้ในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ เหมาะสำหรับองค์กรที่มีสาขาหลายแห่ง และมีการตรวจเยี่ยมพื้นที่ เช่น เซลส์ที่ต้องไปพบลูกค้าต่างจังหวัด ก็เช็คอินเวลาไปถึงสถานที่นัดหมาย ทำให้ผู้จัดการหรือหัวหน้าทีมขายติดตามการเข้าพบลูกค้าตามแผนออกทริปได้ หรือ การตรวจประเมินโดยออดิเตอร์ที่ต้องไปออดิทพนักงานประจำสาขา หรือตามห้างร้านต่าง ๆ ก็สามารถบันทึกข้อมูลการตรวจเยี่ยมในพื้นที่ต่าง  ๆ ไว้ให้สำนักงานใหญ่ควบคุมดูแลหรือมอนิเตอร์ดูได้  เป็นต้น
6. Instagram เน้นการโพสต์รูปภาพ แชร์รูปภาพเป็นหลัก เอามาประยุกต์ใช้ในการรายงานด้วยภาพ เช่น ภาพกิจกรรมต่าง ๆ การสัมมนา การประกวด การมอบของรางวัล การทำงานที่เสี่ยงอันตราย ชิ้่นงานที่ได้คุณภาพ ตัวอย่างของเสีย กิจกรรมนอกสถานที่ การแข่งกีฬา การดูงาน การทำ 5ส. สภาพแวดล้อมในสถานประกอบการ ฯลฯ หรือนำมาใช้เป็นภาพประกอบในการแจ้งเรื่องร้องเรียน หรือข้อเสนอแนะไคเซ็น เป็นต้น
7. Blog เอาไว้ใช้เขียนบทความ หรือข้อความที่มีเนื้อหารายละเอียดมากหน่อย ซึ่งเฟซบุค หรือทวิตเตอร์มีข้อจำกัด สามารถเขียนรีวิว เขียนรายงาน เขียนบันทึกการทำงาน ข้อค้นพบ การแก้ไขปัญหาในงาน ซึ่งสามารถใส่ภาพประกอบได้ เป็นการบันทึกข้อมูลที่เป็นหลักฐานอ้างอิงที่ดีไว้สำหรับประเมินผลการปฏิบัติงาน เช่น หัวหน้าที่ได้อ่านไดอารี่การทำงานของพนักงานก็จะสามารถตรวจสอบการทำงานย้อนหลัง และประเมินผลงาน หรือดูพัฒนาการของลูกน้องได้
8.  Webboard เอาไว้ตั้งกระทู้ สอบถามปัญหาในงาน หรือเรื่องต่าง ๆ ที่พนักงานสนใจ เช่น สวัสดิการพนักงาน นโยบาย กฎระเบียบข้อบังคับ ฯลฯ หรือเอาไว้ใช้ประกาศตำแหน่งงานว่างในองค์กร หรือตั้งกระทู้สำหรับระดมสมอง ประชันไอเดีย รับฟังข้อเสนอแนะ เป็นต้น
9. Google Docs นำมาใช้ในการจัดการไฟล์เอกสารร่วมกัน จะได้ไม่ยุ่งยากในการเซฟข้อมูลเป็นหลายไฟล์ สามารถแก้ไขเอกสารร่วมกันได้ แล้วเซฟเป็นไฟล์ที่อัพเดทล่าสุดเป็นไฟล์เดียว ทีมงานสามารถอัพโหลด ดาวโหลด ไฟล์งานไว้ในโฟลเดอร์กลางที่ทุกคนต้องใช้งานร่วมกัน นอกจากนี้ ยังสามารถนำมาใช้ทำแบบสอบถามออนไลน์ได้อีกด้วย ลดภาระการถ่ายเิอกสารแจกจ่ายไปยังทุกแผนก ซึ่งสิ้นเปลืองกระดาษแถมยังไม่ได้รับการตอบกลับอีกต่างหาก
10. Drop Box มีประโยชน์คือ เป็นฮาร์ดดิสก์สำรองออนไลน์ ไว้เก็บข้อมูลเผื่อฉุกเฉิน บางทีไปทำงานแต่ดันลืมหน่วยความจำสำรองไว้ที่บ้าน ก็สามารถดาวโหลดไฟล์ที่เก็บไว้ในดร็อปบ็อกซ์มาใช้งานได้อย่างทันท่วงที เป็นที่ฝากไฟล์ซึ่งสามารถแชร์กล่องเก็บข้อมูลให้ผู้อื่นใช้ร่วมกันได้ง่าย
11. Skype เอาไว้ใช้งานเวลามีประชุมทางไกล ออนไลน์แบบเห็นหน้ากันเรียลไทม์ ต้นทุนต่ำแต่ระดับปฏิสัมพันธ์สูง นอกจากนี้ยังประยุกต์ใช้ในการนัดหมายสัมภาษณ์งานทางไกลได้ด้วย ทั้งผู้สัมภาษณ์และผู้ถูกสัมภาษณ์ต้องมีอุปกรณ์และเวลาที่ตรงกัน จำลองสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมให้เหมือนเจอตัวจริงกันเป็นๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น